กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
72
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / Re: พระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:58:26 AM »
ที่ผ่านมา การเช่าการขายพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
พิมพ์ใหญ่ ที่มีชื่อเสียงอยู่ในระดับแถวหน้าเช่น
'องค์เสี่ยหน่ำ'
'องค์ลุงพุฒ'
'องค์ขุนศรี'
'องค์เล่าปี่'
'องค์กวนอู'
'องค์บุญส่ง'
'องค์เจ๊แจ๊ว'
'องค์เจ๊องุ่น'
'องค์ครูเอื้อ'
'องค์เสี่ยดม' และ
'องค์มนตรี'
73
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / Re: พระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:56:37 AM »
กล่าวสำหรับ 'จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง' พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
เป็นพระเครื่องประเภทเนื้อปูนผสมผงที่สร้างขึ้นด้วย
ผงวิเศษทั้ง 5 ประการ คือ
ผงปถมัง
ผงอิทธิเจ
ผงมหาราช
ผงพุทธคุณ
ผงตรีนิสิงเห
นอกจากนั้น ยังผสมด้วยมวลสารต่างๆ อาทิ
ปูนเปลือกหอย
ดินสอพอง
เกสรดอกไม้
กล้วยและข้าวสุกตากแห้ง
โดยมีส่วนของน้ำมันตั้งอิ๊วและน้ำอ้อยเป็นตัวเชื่อมประสานให้เข้าเป็นเนื้อ เดียวกัน

เนื้อของพระมีสีขาวแบบปูนปั้น หรือสีขาวอมเหลือง มองดูเนื้อแก่ผง มีความหนึกนุ่มและแกร่ง
ขนาดองค์พระเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความกว้างประมาณ 2.2 เซนติเมตร
สูงประมาณ 3.5 เซนติเมตร หนาประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ทุกแบบพิมพ์
 
ประกอบด้วยพิมพ์ทรงมาตรฐานที่เล่นหาสะสมในวงการทั้งหมด 4 พิมพ์ทรง คือ
พิมพ์ใหญ่
พิมพ์ทรงเจดีย์
พิมพ์ฐานแซม
พิมพ์เกศบัวตูม
ส่วนพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันของนักสะสมพระเครื่อง
ฝ่ายหนึ่งกล่าวว่า พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ไม่มีพิมพ์ปรกโพธิ์
แต่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวว่าในพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
มีพิมพ์ปรกโพธิ์เช่นเดียวกับในพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างไว้

พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นผู้สร้างขึ้น กล่าวกันว่า
ท่านเริ่มสร้างขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.2409 ภายหลังจากโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระสมเด็จพุฒาจารย์
จึงเรียกขานพระเครื่องที่สร้างขึ้นว่า 'พระสมเด็จ'
และได้สร้างเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2415 โดยได้แจกจ่ายแก่บรรดาญาติโยมที่มาเยี่ยมเยียน
และเมื่อครั้งออกบิณฑบาตในตอนเช้า ครั้นหมดก็สร้างใหม่ ปลุกเสกด้วยคาถาชินบัญชรที่ท่านได้มาจากเมืองกำแพงเพชร
ผู้แกะพิมพ์ถวาย คือ หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนัก


มวลสารพระสมเด็จประกอบด้วยวัตถุหลายอย่าง ท่านใดที่เคยทดลองผสมมวลสาร หลายท่านอาจจะรู้แล้ว เมื่อย้อนยุคกลับไป 140 ปีก่อน คิดว่าอะไรจะหาง่ายที่สุด การผสมจะมีวัตถุดิบ ทั้งของแห้งและของเปียก
1.ของแห้ง ได้แก่
- ผงข้าวสุกตากแห้ง รวมถึง ข้าวสารที่หลุดรอดจากการหุง
- ผงเกสรและว่านต่างๆ
- ผงชานหมาก
- ผงตะไคร่ใบเสมา
- ผงกรุพระเก่า, เศษพระป่นหัก
- ปูนชนิดต่างๆ
- ผงวิเศษชนิดต่างๆ
- ผงเงิน , ผงทอง
- พระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุ
- อัญมณีผง
- กระเบื้องกังใสบด
- ผงธูป, ผงใบลานเผา, ก้านธูป, ดอกไม้แห้ง รวมถึง สิ่งบูชาพระต่างๆนำมาพลีแล้วเผา
- ดินโป่ง 7 โป่ง, ดินท่า 7 ท่า, ดินหลักเมือง 7 หลัก
- ขี้ไคลเสมา, ขี้ไคลประตูวัง, ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก
- ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์
- ดอกกาหลง, ยอดสวาท, ยอดรักซ้อน, พลูร่วมใจ, พลู 2 หาง
- กระแจะตะนาว
- เยื่อกระดาษ
- ผงมวลสารเก่า
2. ของเปียกได้แก่
- ข้าวสุก
- กล้วย
- ว่านสด
- น้ำพระพุทธมนต์
- น้ำบ่อ 7 รส
- น้ำอ้อย, น้ำผึ้ง, น้ำหมาก
- น้ำมันจันทน์
- น้ำมันตังอิ้ว (น้ำมัน Tung)
- กาวกระถิน, กาวมะขวิด, กาวมะขาม, กาวหนังสัตว์
เนื้อของพระสมเด็จ แบ่งออกเป็นประเภท ใหญ่ๆได้ ดังนี้
1. เนื้อเกษรดอกไม้
2. เนื้อกระแจะจันทร์
3. เนื้อปูนนุ่ม
4. เนื้อกระยาสารท หรือ เนื้อขนมตุ้บตั้บ
5. เนื้อผงใบลาน
6. เนื้อปูนแกร่ง
7. เนื้อเทียนชัย
8. เนื้อหินมีดโกน
9. เนื้อชานหมาก
10. เนื้อดินสอพอง หรือ เนื้อชล็อก
11. เนื้อเนื้อปูนดิบหรือเนื้อกระเบื้อง
12. เนื้อดินดิบ
13. เนื้อดินเผา
14. เนื้อขาวงาช้าง
15. เนื้อข้าวสุก
16. เนื้อผสมขี้ผึ้ง
17. เนื้อผสมว่าน
18. เนื้อผสมสีฝุ่น
19. เนื้อแก่น้ำมัน
ท่านใดเห็นควรว่ามีเนื้อนอกเหนือมากกว่านี้ บอกด้วย



ตัวอย่างเนื้อ    พระสมเด็จ

http://www.meeboard.com/view.asp?user=saravutrasameepen&groupid=29&rid=49&qid=1
74
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / เบญจภาคี
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:51:48 AM »
พ.อ.(พิเศษ)ประจน กิตติประวัติ ท่านนี้เองที่ได้จัดทำเนียบชุดพระเครื่อง 'เบญจภาคี' ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2495
โดยเมื่อแรกเริ่มยังคงเป็นเพียง
'ไตรภาคี' คือ มีเพียง 3 องค์เท่านั้น
อันประกอบด้วย 'พระสมเด็จ' วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นองค์ประธาน
ซ้ายขวาเป็น 'พระนางพญา' พิษณุโลก และ 'พระรอด' ลำพูน
ไม่นานจากปีนั้นจึงได้ผนวก
'พระกำแพงซุ้มกอ' กำแพงเพชร และ 'พระผงสุพรรณ' สุพรรณบุรี เข้าเป็นชุด 'เบญจภาคี'
สุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย
แต่เมื่อมองย้อนกลับไปในครั้งนั้น พระเครื่องที่ได้รับความนิยมชมชอบมากเป็นพิเศษแล้ว คือ
พระเครื่องที่มีพุทธคุณในด้าน 'คงกระพันชาตรี'ซึ่งการจัดทำทำเนียบ 'เบญจภาคี' นั้น
เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดความนิยมพระเครื่องทั้ง 5 องค์ ในชุดดังกล่าว
อันล้วนเป็นพระเครื่องที่มีราคาการเช่าที่สูงๆ ทั้งสิ้นยิ่ง
เมื่อ พ.อ.(พิเศษ) ประจน กิตติประวัติ จัดให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
เป็น 'จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง' ความนิยมใน 'พระสมเด็จ' ก็ทะยานสู่แถวหน้าของพระเครื่องเมืองไทย
75
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / Re: พระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:43:10 AM »
อายุ

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่
>>>เจ้าประคุณสมเด็จ สร้างอยู่ 3 แผ่นดิน หรือ 3 ยุคสมัยตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สร้างครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2368 จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สร้างครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2414 รวมการสร้างพระพิมพ์ประมาณ 14 ครั้ง และแบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้
ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 (ครองราชย์ พ.ศ. 2367 - 2394)
ยุคกลาง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ พ.ศ. 2399 –2411 (ครองราชย์ พ.ศ. 2394 - 2411)
ยุคปลาย สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ พ.ศ. 2412 –2414 (ครองราชย์ พ.ศ. 2411 - 2453) มีรายละเอียดการสร้างพระพิมพ์ หรือพระสมเด็จ ดังนี้
ยุคต้น ในรัชกาชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3 ) 1. ปี พ.ศ. 2348 สร้างที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ เป็น “พระครูโต”
2. ปี พ.ศ. 2378 สร้างเป็นที่ระลึกในการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระปริยัติธรรม”
3. ปี พ.ศ. 2379 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินสร้างพระพุทธไสยาสน์ (ไม่ลงกรุ)
4. ปี พ.ศ. 2381 สร้างเป็นที่ระลึกให้งานทำบุญครบ 51 ปี ขณะดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ พระปริยัติธรรม
5. ปี พ.ศ. 2386 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระราชปัญญาภรณ์”
6. ปี พ.ศ. 2387 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินบำรุงวัดระฆัง
7. ปี พ.ศ. 2390 สร้างเป็นที่ระลึกในงานทำบุญครบรอบ 60 ปี เป็นที่ “พระเทพกวีศรีวิสุทธินายก” ซึ่งการสร้างแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มาก เป็นพิมพ์ใหญ่ และหลายพิมพ์ทรง เป็นพระเนื้อขาวแก่ปูน พิมพ์ใหญ่ไม่มีเส้นกรอบกระจก หรือเส้นบังคับพิมพ์
ยุคกลาง ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
1. ปี พ.ศ. 2399 สร้างให้โยมพระบิดามารดา เพื่อแทนคุณ ขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระธรรมกิติโสภณ” เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์
2. ปี พ.ศ. 2399 สร้างเป็นที่ระลึกในงานสร้างพระบูชา นามว่า “พระหาพุธพิม”
3. ปี พ.ศ. 2407 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังษี” เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
4. ปี พ.ศ. 2409 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี” เริ่มสร้างที่จำนวน 84,000 องค์ตามเจตนารมณ์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยแม่พิมพ์ของช่างทองหลวง “หลวงวิจารณ์เจียรนัย”
5. ปี พ.ศ. 2411 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นพิมพ์ใหญ่อกวี จำนวน 84000 องค์
ยุคปลาย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
1. ปี พ.ศ. 2412 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย จำนวน 84000 องค์ (แบ่งลงกรุบางขุนพรหม)
2. ปี พ.ศ. 2414 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (ลงรักปิดทอง) (ลงกรุวังหน้า)
สร้างถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 84000 องค์
76
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / พระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:38:05 AM »
http://www.aj-ram.com/view/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%86%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AF%20%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B3%20%20%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%20%E0%B9%93%E0%B9%90,%E0%B9%90%E0%B9%90%E0%B9%90,%E0%B9%90%E0%B9%90%E0%B9%90%20%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97




http://www.xn--12cmdf6c1aw1baeqc3fq2b4d6fugofyd.com/14943892/%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%86%E0%B8%B1%E0%B8%87

ชีวประวัติสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี .
ท่านเป็นผู้สร้าง "พระสมเด็จ ที่ ถูกจัดให้เป็นราชาแห่งพระเคื่องทั้งปวง "
ได้แก่ ๑.พระสมเด็จวัดระฆัง ๒.พระสมเด็จบางขุนพรหม และ ๓.พระสมเด็จวัดเกศไชโย
นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ 2331 ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง
สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของ "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของ "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย"   และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

บรรพชาและอุปสมบท
เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มี สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร เป็น พระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี ต่อมา พระบาทสมเด้จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุโตรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์


จริยาวัตร
ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 
จะทรงสถาปนาสมณศักดิ์เพื่อยกย่องในกิตติคุณและเกียรติคุณของพระภิกษุโต แต่พระภิกษุโตไม่ยอมรับ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าท่านมีอุปนิสัยไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใดๆ ทั้งสิ้น อนึ่ง แม้พระภิกษุโตได้ศึกษาพระธรรมวินัยแตกฉาน แต่ด้วยอุปนิสัยดังกล่าวข้างต้น ท่านจึงไม่ยอมเข้าแปลหนังสือเพื่อเป็นพระภิกษุชั้นเปรียญเช่นกัน
ต่อมากล่าวกันว่า พระภิกษุโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของพระภิกษุโตอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของพระภิกษุโต ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน
 
       สมณศักดิ์
สมเด็จพระพุฒาจารย์ เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ


ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระองค์โปรดปรานพระภิกษุโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์ถวายพระภิกษุโตเป็นครั้งแรก โดยมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนาม "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระภิกษุโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ในราชทินนาม "พระเทพกวี" หลังจากนั้นอีก 10 ปี พ.ศ. 2407 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ในราชทินนาม "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีนามจารึกตามสุพรรณบัฏว่า
สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า "ขรัวโต
 
  ปัจฉิมวัย
ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย)  ที่วัดอิทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี
หลังมรณภาพ
ตัวอย่างคำเทศนาของเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้ในนิมิต
หลังจากที่ล่วงลับไปแล้วเมื่อ100 กว่าปี ความว่า
                             
               "ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีจากหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง
          คือ บารมีของตน ลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย
              มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว
            เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว
                                                       แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า
 
                                               หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง
                             จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลา  เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
                             ครั้นถึงเวลาทั้งฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน
                                       เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า"
77
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / ตัวอย่างเนื้อพระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:17:27 AM »
78
ดิจิตอล คอนโซล สำหรับงานบรอดคาส ( Digital Mixer Console Broadcast )
79
ตัวไฮบริจมีปัญหาครับ ไปสีฟ้าขึ้นค้างตลอดโทเข้าไม่ได้ ส่งซ่อมนี่ประมาณเท่าไหร่ครับ

แจ้งไปทางไลน์แล้วนะครับ  จัดส่งมาครับ  ทางทีมงานจะดูแลให้ครับ   ขอบคุณครับ
80
รบกวนขอรหัสด้วยครับ  ขอบคุณครับ :) :) :) :) :)
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10